อาการปวดเข่าและน้ำไขข้อในเข่า
Synovial Fluid หรือน้ำเลี้ยงข้อเป็นหนึ่งในส่วนประกอบสำคัญของข้อต่อในร่างกาย หน้าที่สำคัญของน้ำไขข้อคือการหล่อลื่นข้อต่อให้เราสามารถขยับได้อย่างลื่นไหลไม่ติดขัด
กฎหมายน่ารู้
“ชนชั้นใดตรากฎหมายก็เพื่อชนชั้นนั้น”
กฎหมายเป็นเพียงเครื่องมือในการสร้างความยุติธรรม แต่หาใช่ความยุติธรรมไม่
ทำไมเราจำเป็นต้องรู้กฎหมายบ้างเพราะการรู้กฎหมายจะทำให้เรารู้จักรักษาสิทธิของเราเอง และใช้สิทธิของเราเองได้ อีกทั้งกฎหมายยังเขียนไว้ว่า “บุคคลใดจะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อปฏิเสธความรับผิดหาได้ไม่” ซึ่งจะกล่าวไว้ให้เข้าใจและรู้หลักการสำคัญของแต่ละกฎหมายเพื่อเป็นแนว ทางให้ไปศึกษาหาอ่านรายละเอียดใน Internet และสื่ออื่นๆ ต่อไป กฎหมายที่น่ารู้ (เฉพาะที่จะเขียนในที่นี้เท่านั้น) ประกอบด้วย
1.รัฐธรรมนูญ
2.กฎหมาย 4 มุมเมือง (ชื่อสมมุติ) ประกอบด้วย
แต่ละกฎหมายมีความสำคัญโดยย่อคือ
1.รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญ (Constitutional) หมายถึง กฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นกติกาสูงสุดในการปกครอง ซึ่งกำหนดกรอบอำนาจหน้าที่และบทบาทของบุคคลต่าง ๆ รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงการปกครองระบอบประชาธิปไตย (แต่ทุกประเทศและประเทศคอมมิวนิสต์ก็มีรัฐธรรมนูญได้เช่นกัน) และเป็นเครื่องหมายที่แสดงให้เห็นว่าประเทศมีการปกครองแบบนิติรัฐ คือ เป็นการปกครองโดยกฎหมายและในบรรดากฎหมายที่ออกมาบังคับใช้กับพลเมืองรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดหนึ่งเดียวซึ่งกฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งไม่ได้
ฉบับปัจจุบัน (2560) ประกอบด้วย
หมวด 1 บททั่วไป
หมวด 1 พระมหากษัตริย์
หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย
หมวด 4 หน้าที่ของปวงชนชาวไทย
หมวด 5 หน้าที่ของรัฐ
หมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ
หมวด 7 รัฐสภา
ส่วนที่ 1 บททั่วไป
ส่วนที่ 2 สภาผู้แทนราษฎร
ส่วนที่ 3 วุฒิสภา
ส่วนที่ 4 บทที่ใช้แก่สภาทั้งสอง
หมวด 8 คณะรัฐมนตรี
หมวด 9 การขัดกันแห่งผลประโยชน์
หมวด 10 ศาล
ส่วนที่ 1 บททั่วไป
ส่วนที่ 2 ศาลยุติธรรม
ส่วนที่ 3 ศาลปกครอง
ส่วนที่ 4 ทหาร
หมวด 11 ศาลรัฐธรรมนูญ
หมวด 12 องค์กรอิสระ
ส่วนที่ 1 บททั่วไป
ส่วนที่ 2 คณะกรรมการการเลือกตั้ง
ส่วนที่ 3 ผู้ตรวจการแผ่นดิน
ส่วนที่ 4 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
ส่วนที่ 5 คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
ส่วนที่ 6 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
หมวด 13 องค์กรอัยการ
หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น
หมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
หมวด 16 การปฏิรูปประเทศ
บทเฉพาะกาล
สรุป เราต้องรู้เพราะสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนถูกกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญหากผู้ใดมากระทำการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานที่บัญญัติไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญเราสามารถอ้างถึงกฎหมายรัฐธรรมนูญมาเป็นข้อต่อสู้ได้
2.กฎหมาย 4 มุมเมือง
ความหมายของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
1.1 กฎหมายแพ่ง (Civil Law) หมายถึงกฎหมายเอกชนที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกันในฐานะที่เท่าเทียมกันโดยกำหนดความสัมพันธ์ในเรื่องบุคคล หนี้สิน ทรัพย์สิน ครอบครัว และมรดก
1.2 กฎหมายพาณิชย์ (Commercial Law) หมายถึงกฎหมายเอกชนที่เกี่ยวกับหลักปฏิบัติในทางการค้าที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในภาคธุรกิจจึงเรียกว่า “กฎหมายพ่อค้า” ได้แก่ หุ้นส่วนบริษัท ตั๋วเงิน การประกันภัย การล้มละลาย เป็นต้น
ลักษณะสำคัญของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประกอบไปด้วย
บรรพ 1 หลักทั่วไป
เป็นบรรพที่บัญญัติหลักการทั่วไป (เช่นนิติวิธี หลักสุจริต) บุคคลเป็นหลักเกณฑ์เบื้องต้นเกี่ยวกับทรัพย์ นิติกรรม ระยะเวลา และอายุความ
บรรพ 2 หนี้
เป็นบรรพที่บัญญัติหลักการทั่วไปเกี่ยวกับหนี้และบ่อเกิดแห่งหนี้ เช่น สัญญา ละเมิด ลาภไม่ควรได้และจัดการงานนอกสั่ง
บรรพ 3 เอกทัศสัญญา
เป็นบรรพที่บัญญัติหลักเกณฑ์ของสัญญาต่างๆ เช่น ซื้อขาย กู้ยืม ฝากทรัพย์ จำนำ เป็นต้น
บรรพ 4 ทรัพย์สิน
เป็นบรรพที่บัญญัติหลักเกณฑ์เกี่ยวกับทรัพย์สินและสิทธิต่างๆ ในทรัพย์สิน เช่น กรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง ภาวะจำยอม เป็นต้น
บรรพ 5 ครอบครัว
เป็นบรรพที่บัญญัติความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัว เช่น การหมั้น การสมรส สิทธิและหน้าที่ระหว่างสามีกับภรรยาและระหว่างบิดามารดากับบุตร เป็นต้น
บรรพ 6 มรดก
เป็นบรรพที่บัญญัติหลักเกณฑ์เกี่ยวกับกองมรดก เช่น การตกทอดของมรดก การทำพินัยกรรม การจัดการและการแบ่งปันทรัพย์มรดกเป็นต้น
สรุป กฎหมายแพ่งเป็นเรื่องระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกันเองรวมถึงหลักการต่างๆ ที่ต้องปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดไว้
ข้อควรรู้ คือ
1.บุคคลใดเป็นหนี้ทรัพย์สินย่อมเป็นหนี้ตามไปด้วย
2.บุคคลล้มละลายคือบุคคลที่ตายในทางทรัพย์สิน
3.ญาติชิดตัดสิทธิ์ญาติห่าง (ในทางมรดกเมื่อบุคคลใดตายกองมรดกย่อมตกแก่ทายาททันทีหากไม่ได้เขียนพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้กับใครไว้ก่อนตาย)ญาติชิดสุดจะได้รับมรดกก่อนเรียงไปตามลำดับ (ทายาทโดยธรรมมี 6 ลำดับ 1.ผู้สืบสันดานคือบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย, บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วและบุตรบุญธรรม 2.บิดามารดาในกรณีของบิดาเฉพาะบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้นที่มีสิทธิรับมรดก 3.พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 4.พี่น้องร่วมแต่บิดาหรือมารดาเดียวกัน 5.ปู่ ย่า ตา ยาย 6.ลุง ป้า น้า อา)
4.สภาพบุคคลเริ่มแต่เมื่อคลอดและอยู่รอดเป็นทารกและสิ้นสุดลงเมื่อตาย
5.การตายของบุคคลมี 2 รูปแบบ 1.ตายโดยธรรมชาติ 2.ตายโดยผลของกฎหมาย (“การสาบสูญ” เป็นกรณีที่บุคคลได้หายจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่โดยไม่ทราบข่าวคราวเป็นระยะเวลา 5 ปี สำหรับกรณีทั่วไป 2 ปีสำหรับกรณีพิเศษซึ่งได้แก่ หายไปในสนามรบ การสงคราม)
6.บุคคลบรรลุนิติภาวะได้ 2 แบบ 1.โดยอายุเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ 2.โดยการสมรส (เมื่อชายหญิงอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์โดยจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายและบิดามารดาหรือผู้ปกครองของทั้งสองฝ่ายให้ความยินยอม)
7.อายุความในเรื่องอายุความทางแพ่งหากคู่ความไม่ได้ยกเป็นข้อต่อสู้ไว้ก่อน ศาลไม่อาจยกเรื่องอายุความขึ้นมาประกอบการพิจารณาคดีได้
8.การลงโทษทางแพ่งมุ่งไปที่การชดเชยหรือเยียวยาเรื่องทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นหลักเพื่อให้ผู้เสียหายกลับคืนสู่ฐานะเดิมมากกว่าการมุ่งกระทำไปที่เนื้อตัวร่างกายของผู้กระทำความผิดเหมือนเช่นคดีอาญา (คดีแพ่งจึงไม่มีโทษประหารชีวิต จำคุก กักขัง เป็นต้น)
กฎหมายอาญาได้แก่กฎหมายที่บัญญัติถึงความผิดและโทษแยกพิจารณาได้ดังนี้
การบัญญัติความผิด หมายความว่าการบัญญัติว่าการกระทำและการงดเว้นการกระทำอย่างใดเป็นความผิดอาญา
การบัญญัติโทษ หมายความว่าเมื่อใดบัญญัติว่าการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำอย่างใดเป็นความผิดแล้วก็ต้องบัญญัติโทษอาญาสำหรับความผิดนั้นไว้ด้วย
ประมวลกฎหมายอาญาแบ่งออกเป็น 3 ภาค
ภาค 1 บทบัญญัติทั่วไป
ภาค 2 ความผิด
ภาค 3 ลหุโทษ
กฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ในการป้องกันสังคมให้เกิดความสงบเรียบร้อยโดยกำหนดว่าการกระทำใดเป็นความผิดอาญาและกำหนดโทษของผู้ฝ่าฝืน
ลักษณะที่สำคัญของกฎหมายอาญาคือเป็นกฎหมายที่กำหนดเป็นความผิดชัดแจ้งและไม่มีผลบังคับย้อนหลังที่เป็นโทษแก่ผู้กระทำความผิด
ลักษณะของกฎหมายอาญามีดังนี้
ลักษณะของการทำความผิดทางอาญา
การกระทำความผิดกฎหมายอาญามี 3 ประเภทคือ
ความผิดทางอาญา
ความผิดทางอาญาคือการกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ของประเทศเมื่อบุคคลใดกระทำความผิดทางอาญาจะต้องได้รับโทษตามกฎหมายมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของการกระทำความผิด กฎหมายมิได้ถือว่าการกระทำความผิดทุกอย่างร้ายแรงเท่าเทียมกันการลงโทษผู้กระทำความผิดจึงขึ้นอยู่กับการกระทำและสังคมมีความรู้สึกต่อการกระทำนั้นๆ ว่าอะไรเป็นปัญหาสำคัญมากน้อยเพียงใดซึ่งอาจจะแบ่งการกระทำความผิดอาญาออกเป็น 2 ลักษณะคือ
1.ความผิดต่อแผ่นดิน (ยอมความไม่ได้) หมายถึงความผิดในทางอาญาซึ่งนอกจากเรื่องนั้นจะมีผลต่อตัวผู้รับผลร้ายแล้วยังมีผลกระทบที่เสียหายต่อสังคมอีกด้วยและรัฐจำเป็นต้องป้องกันสังคมเอาไว้ด้วยการยื่นมือเข้ามาเป็นผู้เสียหาย เองดังนั้นแม้ผู้รับผลร้ายจากการกระทำโดยตรงจะไม่ติดใจเอาความแต่ก็ยังต้องเข้าไปดำเนินคดีฟ้องร้องเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษให้ได้
2.ความผิดอันยอมความกันได้ หมายถึงความผิดในทางอาญาซึ่งไม่ได้มีผลร้ายกระทบต่อสังคมโดยตรงหากตัวผู้รับผลร้ายไม่ติดใจเอาความแล้วรัฐก็ไม่อาจยื่นมือเข้าไปดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดได้และถึงแม้จะดำเนินคดีไปแล้วเมื่อ ตัวผู้เสียหายพอใจยุติคดีเพียงใดก็ย่อมทำได้ด้วยการถอนคำร้องทุกข์ถอนฟ้องหรือยอมความ เช่น ความผิดฐานหมิ่นประมาท ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพ เป็นต้น
บทนิยามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามีอยู่ 15 คำซึ่งบทนิยามที่บัญญัติไว้นี้ใช้เฉพาะเป็นบทกำหนดหรือจำกัดความหมายที่แน่นอนของคำต่างๆ ที่ใช้อยู่ในบทบัญญัติของประมวลกฎหมายอาญาหรือกฎหมายอาญาอื่นเท่านั้นจะนำไปใช้กับกฎหมายอื่นซึ่งไม่เกี่ยวกับกฎหมายอาญาไม่ได้ซึ่งมีคำที่เป็นบทนิยามมีความหมายสรุปได้ดังนี้
10 “ลายมือชื่อ” หมายความรวมถึงลายพิมพ์นิ้วมือและเครื่องหมายซึ่งบุคคลลงไว้แทนลายมือชื่อของตน
12.”คุมขัง” ความหมายว่าคุมตัว ควบคุม ขัง กักขังหรือจำคุก
(ก) เอกสารหรือวัตถุอื่นใดไม่ว่าจะมีรูปลักษณะใดที่ผู้ออกได้ออกให้แก่ผู้มีสิทธิใช้ซึ่งจะระบุชื่อหรือไม่ก็ตามโดยบันทึกข้อมูลหรือรหัสไว้ด้วยการประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือวิธีอื่นใดในลักษณะ คล้ายกันซึ่งรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางแสงหรือวิธีการทางแม่เหล็กให้ปรากฏความหมายด้วยตัวอักษร ตัวเลข รหัส หมายเลขบัตรหรือสัญลักษณ์อื่นใดทั้งที่สามารถเห็นและมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า
(ข) ข้อมูล รหัส หมายเลขบัญชี หมายเลขชุดทางอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องมือทางตัวเลขใด ๆ ที่ผู้ออกได้ออกให้แก่ผู้มีสิทธิใช้โดยมิได้มีการออกเอกสารหรือวัตถุอื่นใดให้แต่มีวิธีการใช้ในทำนองเดียวกับ (ก) หรือ
(ค) สิ่งอื่นใดที่ใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของเอกสารหรือวัตถุอื่นใดไม่ว่าจะมีลักษณะใดที่ผู้ออกให้แก่ผู้มีสิทธิใช้
ซึ่งจะระบุชื่อหรือไม่ก็ตามโดยบันทึกข้อมูลหรือรหัสไว้ด้วยการประยุกต์ใช้ วิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้าหรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน
โทษทางอาญา มี 5 ชนิด
สรุป กฎหมายอาญาเป็นกฎหมายมหาชนประเภทหนึ่งที่กำหนดความผิดเกี่ยวกับรัฐกับประชาชนหรือประชาชนด้วยกันเองมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการกระทำที่เป็นความผิดและการลงโทษผู้ฝ่าฝืนไว้ทั้งนี้เพื่อเป็นการควบคุมความประพฤติของบุคคลให้อยู่ภายในขอบเขตไม่ให้ละเมิดสิทธิของบุคคลอื่นและรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองให้ประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขไม่ให้มีการแก้แค้นหรือล้างแค้นกันเองโดยรัฐยื่นมือเข้ามาลงโทษผู้กระทำผิดเสียเองกฎหมายใดที่ลักษณะดังกล่าวย่อมอยู่ในความหมายของคำว่า “กฎหมายอาญา” ทั้งสิ้น
ข้อควรรู้ คือ
บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาและได้รับโทษทางอาญาเมื่อใด
1.จะไม่มีความผิดโดยไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้
2.จะไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย โทษอย่างไรก็ต้องลงอย่างนั้นจะให้ลงโทษอย่างอื่นไม่ได้
3.จะต้องตีความกฎหมายอาญาโดยเคร่งครัด
4.การอุดช่องว่างแห่งกฎหมายจะอุดช่องว่าเป็นผลร้ายแก่จำเลยไม่ได้
5.จะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมาย เพื่อให้พ้นจากความรับผิดไม่ได้
หลักเกณฑ์ที่จะพิจารณาว่าการกระทำใดเป็นความผิดอาญามี 3 ข้อ
1.ต้องมีการกระทำ
2.การกระทำนั้นเข้าองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด
3.ไม่มีกฎหมายยกเว้นโทษหรือไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิด
การกระทำ
3 กระทำโดยประมาทแต่ต้องเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาทการกระทำดยประมาทคือการกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนาแต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจะต้องมีตาม วิสัยและพฤติการณ์และผู้กระทาอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านี้ได้แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
**อายุความตามกฎหมายอาญาแม้ว่าจำเลยไม่ได้ยกมาเป็นข้อต่อสู้ไว้ในการต่อสู้คดีศาลมีอำนาจที่จะยกเรื่องอายุความขึ้นมาประกอบการพิจารณาคดีได้**
เช่น นายรวย เงินเยอะฟ้องนายจน ข้นแค้น ข้อหาลักทรัพย์แต่คดีหมดอายุความแล้วแต่นายจนไม่ได้ยกเรื่องอายุความมาเป็นข้อต่อสู้ศาลมีอำนาจยกเรื่องอายุความขึ้นมาพิจารณาคดีและสั่งยกฟ้องเพราะคดีหมดอายุความแล้วได้เป็นต้น
3.กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ป.วิแพ่ง) (เป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติ)
มีสาระสำคัญดังนี้ (โดยย่อ)
1.หลักการเริ่มคดีอยู่ที่คู่ความไม่ว่าจะเป็นคำฟ้องก็ดี คำให้การก็ดีหรือคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีแพ่งก็ดี คู่ความจะต้องระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ของตนเอง
2.การพิจารณาดำเนินไปโดยเคร่งครัดต่อแบบพิธี เช่น การยื่นเอกสารจะต้องยื่นต้นฉบับหรือกรณีใดยื่นสำเนาเอกสารได้ เป็นต้น เพราะการปฏิบัติไม่ถูกต้องอาจมีผลให้ศาลไม่รับฟังพยานเอกสารนั้น
3.ไม่จำเป็นต้องถือเอาความสัตย์จริงเป็นใหญ่เพราะคู่ความต้องระวังรักษาผลประโยชน์ของตนเอง เช่น คดีฟ้องของเรียกเงินกู้ความจริงมิได้กู้แต่จำเลยเห็นว่าเป็นจำนวนเงินเล็กน้อยจึงยอมรับว่ากู้มาจริงศาลก็ต้องพิพากษาให้เป็นไปตามฟ้องของโจทก์และคำรับของจำเลยเว้นแต่ในกรณีที่ศาลอาจยกข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นมาอ้างได้ศาลอาจวินิจฉัยไปโดยไม่ฟังคำรับของคู่ความก็ได้
4.กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิอาญา) (เป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติ)
มีสาระสำคัญดังนี้ (โดยย่อ)
เป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงกระบวนการที่จะนำตัวผู้กระทำความความผิดมารับโทษตามความผิดที่กำหนดในประมวลกฎหมายอาญาเริ่มตั้งแต่ขอบเขตของเจ้าพนักงานตำรวจ อัยการ และศาลในการพิจารณาคดีหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาคดีเพื่อให้ได้ตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษรวมถึงการออกหมายค้น หมายจับต่างๆ ด้วย
กฎหมายมีหน้าที่หลัก 5 ประการด้วยกัน
1.สร้างและรักษาความสงบเรียบร้อยความปลอดภัยและความมั่นคงของสังคม เช่น กฎหมายอาญาที่ลงโทษผู้กระทำผิดและทำให้คนกลัวไม่กล้าทำผิดหรือพระราชบัญญัติปราบปรามยาเสพติดได้กำหนดวิธีการเข้าตรวจค้นผู้ต้องสงสัยได้ง่าย เพื่อให้การกระทำผิดเกิดขึ้นได้ยาก
2.ระงับข้อพิพาท เช่น กฎหมายที่ถูกนำมาพิจารณาในชั้นศาลเพื่อให้คดีความเป็นอันยุติ
3.เป็นวิศวกรสังคมกฎหมายทำหน้าที่วางแนวทางและแก้ไขปัญหาสังคมทั้งปัจจุบันและอนาคต เช่น กฎหมายผังเมือง กฎหมายปฏิรูปการศึกษา
4.จัดสรรทรัพยากรและสร้างโครงสร้างทางเศรษฐกิจ เช่น กฎหมายด้านภาษีอากร กฎหมายจัดสรรงบประมาณ กฎหมายการปรับดอกเบี้ย
5.จัดตั้งและกำหนดโครงสร้างทางการเมืองการปกครอง เช่น รัฐธรรมนูญ กำหนดการเลือกตั้งและการทำงานของรัฐสภา ศาล และคณะรัฐมนตรี
การแบ่งประเภทและลักษณะของกฎหมาย
การแบ่งประเภทของกฎหมายนั้น การแบ่งสามารถอาศัยเกณฑ์ที่ต่างกัน อาทิ
1.เกณฑ์ลักษณะ แบ่งได้เป็นกฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน
2.เกณฑ์เขตอำนาจ แบ่งได้เป็น กฎหมายภายในประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศ
3.เกณฑ์เนื้อหาเฉพาะด้าน แบ่งได้เป็นกฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา กฎหมายภาษี กฎหมายสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
ถ้าพิจารณาจากเนื้อหาโดยพื้นฐานของกฎหมายแล้ว อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ
1.กฎหมายสารบัญญัติ (Substantive law) หรือกฎหมายที่บัญญัติถึงเนื้อหาของสิทธิ หน้าที่ ข้อห้ามหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือเป็นกฎหมายที่ควบคุมความประพฤติของคนในสังคมโดยตรงเช่น กฎหมายอาญา และกฎหมายแพ่ง ที่กล่าวถึงลักษณะความผิด และโทษที่จะได้รับ นอกจากนี้ยังกำหนด ควบคุม ให้ความหมาย และวางหลักการเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ เช่น กฎหมายที่แบ่งและกำหนดเขตพื้นที่ป่าสงวน
2.กฎหมายสบัญญัติ หรือ กฎหมายวิธีสบัญญัติ (Adjective law หรือ Procedural Law) คือกฎหมายที่บัญญัติกระบวนการตลอดจนวิธีการนำเอาเนื้อหาสาระของกฎหมายสารบัญญัติมาใช้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยวิธีการดำเนินอรรถคดีตั้งแต่แรกเริ่มจนเสร็จสิ้น เช่นบัญญัติว่าในแต่ละกระบวนการนั้นมีขั้นตอนอย่างไร ต้องดำเนินการอย่างไร มีเรื่องเวลา สถานที่และบุคคลใดที่เกี่ยวข้อง กฎหมายสบัญญัติที่เด่นชัดคือ กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
กฎหมายทั้งสองประเภทมักจะนำมาใช้ควบคู่กันตลอด เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมนั้นสมบูรณ์ เป็นต้นว่า เมื่อมีผู้กระทำผิดก็พิจารณาการกำหนดโทษตามกฎหมายสารบัญญัติ จากนั้นก็พิจารณาตามกฎหมายสบัญญัติ ในส่วนของวิธีการร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงาน การฟ้องคดีต่อศาล การพิจารณาและพิพากษาคดี หรือการนำคดีแพ่งขึ้นสู่ศาลโดยมีการขอให้รับรองหรือคุ้มครองสิทธิ จนไปถึงขั้นตอนการยื่นอุทธรณ์ การยื่นฎีกาหรือการบังคับคดีเมื่อคดีถึงที่สุด ตัวอย่างของกฎหมายสบัญญัติอื่นๆที่สำคัญได้แก่พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พระราชบัญญัติจัดตั้งภาษีอากรและวิธีการพิจารณาคดีอากร พระราชบัญญัติล้มละลาย เป็นต้น
หลักทฤษฎีพื้นฐานของการใช้กฎหมาย
**ข้อมูลบางส่วนจาก Internet
Synovial Fluid หรือน้ำเลี้ยงข้อเป็นหนึ่งในส่วนประกอบสำคัญของข้อต่อในร่างกาย หน้าที่สำคัญของน้ำไขข้อคือการหล่อลื่นข้อต่อให้เราสามารถขยับได้อย่างลื่นไหลไม่ติดขัด
ประชาชนต้องรวมกันเป็นหนึ่งเดียวและทำความเข้าใจการเมืองไทยอย่างถ่องแท้รู้ว่าประเทศปกครองในระบอบอะไร ระบบบริหารราชการแผ่นดินเป็นอย่างไร กระทรวงต่างๆ มีหน้าที่อะไรบ้าง
เมื่อมีการอยู่ร่วมกันของมนุษย์จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการปกครองเมื่อการปกครองก็ต้องมีการจัดระบอบการปกครองขึ้นมาเพื่อใช้ในการปกครองมนุษย์ด้วยกันซึ่งปัจจุบันมี 2 แบบหลัก (ไม่ข้อกล่าวถึงแบบแยกย่อยต่างๆ)
การทานอาหารทั้ง 6 ชนิดนี้ให้เพียงพอช่วยลดปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ใหญ่ได้ Cardiovascular Disease (CVD)
กินก่อนตายไม่เสียดายชาติเกิดเกาเนื้อที่ทำด้วยจอมยุทธเซี้ยเดี่ยวมือหนึ่งเกาเหลาเนื้อจ้าวยุทธจักรที่ยากจะหาผู้ต่อกรได้
สงครามคือหนึ่งในเรื่องที่โหดร้ายของมนุษย์ในการเข่นฆ่ากันเองและถือเป็นเรื่องล้าหลังและไร้อารยธรรมของความเป็นมนุษย์อย่างสิ้นเชิง