อาการปวดเข่าและน้ำไขข้อในเข่า
Synovial Fluid หรือน้ำเลี้ยงข้อเป็นหนึ่งในส่วนประกอบสำคัญของข้อต่อในร่างกาย หน้าที่สำคัญของน้ำไขข้อคือการหล่อลื่นข้อต่อให้เราสามารถขยับได้อย่างลื่นไหลไม่ติดขัด
การคิดเป็นกระบวนการทางสมองของมนุษย์ซึ่งมีศักยภาพสูงมาก และเป็นส่วนที่ทำให้มนุษย์แตกต่างไปจากสัตว์อื่น ๆ
ผู้มีความสามารถสูงในการคิดสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้ลุล่วงไปได้และมีการพัฒนาชีวิตของตนให้เจริญงอกงามยิ่ง ๆ ขึ้นไปผู้มีความสามารถในการคิดจึงมักได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นำในองค์กรหรือกลุ่มต่าง ๆ การคิดมีความสำคัญอย่างยิ่งเนื่องจากการคิดเป็นปัจจัยภายในที่มีอิทธิพลต่อการกระทำและการแสดงออกของบุคคล ดังนั้นการพัฒนาความสามารถในการคิดจึงเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญของการจัดการศึกษาตลอดมาแต่จะทำได้มากน้อยหรือดีเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับความรู้ ความเข้าใจ และปัจจัยต่าง ๆ ที่เอื้ออำนวย
ความหมาย
การคิดเป็นกระบวนการทางสมองในการนำข้อมูลหรือสิ่งเร้าที่ได้รับไปเชื่อมโยงกับข้อมูลหรือประสบการณ์เดิมเพื่อสร้างความ หมายให้แก่ตน เกิดเป็นความรู้ความเข้าใจที่สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ การคิดเป็นงานเฉพาะตนเป็นกระบวนการภายในที่แต่ละบุคคลต้องดำเนินการเอง ไม่มีผู้ใดทำแทนได้ แต่บุคคลอื่นรวมทั้งสภาพแวดล้อมและประสบการณ์ต่าง ๆ สามารถกระตุ้นให้บุคคลเกิดการคิดได้
อันที่จริงคนเราทุกคนมีปกติวิสัยที่จะคิดอยู่แล้ว แต่การคิดที่กระบวนการศึกษามุ่งพัฒนานี้ หมายถึง การคิดที่มีจุดมุ่งหมาย มีคุณภาพ มิใช่การคิดไปเรื่อย ๆ แต่เป็นการคิดที่กระทำอย่างจงใจ เพื่อให้ได้บทสรุปหรือคำตอบที่ดี ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
เนื่องจากจุดมุ่งหมายในการคิดมีหลากหลาย เช่น การคิดเพื่อแก้ปัญหา การคิดเพื่อการปฏิบัติ หรือกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ถูกต้องและเกิดผลดี การคิดเพื่อสร้างสิ่งใหม่ที่ดีกว่าเดิม การคิดเพื่อให้เกิดความเข้าใจในเรื่องหรือสถานการณ์ต่าง ๆ กระบวนการคิดที่จะทำให้จุดมุ่งหมายของการคิดนั้น ๆ บรรลุผลจึงแตกต่างกันทำให้เกิดคำหรือศัพท์ที่ใช้เรียกการคิดที่มีลักษณะแตกต่างกันจำนวนมากดังตัวอย่างคำที่ผู้ใหญ่มักชอบสอนเด็ก ๆ หรือพ่อแม่สอนลูกหลานที่มักได้ยินบ่อย ๆ เช่น “คิดให้รอบคอบ” “อย่าคิดสั้น คิดให้ยาว ๆ” “อย่าเป็นคนคิดแคบ คิดให้กว้าง ๆ “ให้รู้จักคิดอย่างมีวิจารณญาณ”“อย่าเชื่ออะไรง่าย ๆ ควรคิดวิเคราะห์ให้ดี” “จะทำงานให้ดีต้องรู้จักคิดอย่างเป็นระบบ” ดังนั้น การพัฒนาการคิดของบุคคล จึงเป็นเรื่องที่มีขอบเขตกว้างขวางมาก เพราะการคิดมีลักษณะหลากหลายและมีจำนวนมาก
องค์ประกอบของการคิด
การคิดเกิดขึ้นโดยอาศัยองค์ประกอบที่จำเป็นต่าง ๆ ได้แก่
5.1 ทักษะการคิด หมายถึง ทักษะย่อย ๆ ในการดำเนินการคิดลักษณะต่าง ๆ ที่บุคคลใช้ในการสร้างความหมายของข้อมูล ประสบการณ์ หรือสิ่งเร้าต่าง ๆ ประกอบด้วย (ก) ทักษะการคิดพื้นฐาน (basic thinking skills) เช่น ทักษะการสื่อสาร (ฟัง พูด อ่าน เขียน การแสดงออก) ทักษะการสังเกต สำรวจเปรียบเทียบ เชื่อมโยง จัดหมวดหมู่ การแปลความ ตีความ ใช้เหตุผล และ (ข) ทักษะการคิดขั้นสูง (higher – order thinking skills) เช่น ทักษะการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า จัดระบบ จัดโครงสร้าง
5.2 กระบวนการคิด หมายถึง การคิดที่มีลักษณะเป็นลำดับขั้นตอนต่อเนื่อง อันนำไปสู่จุดมุ่งหมายของกระบวนการคิดนั้น ๆ เช่น กระบวนการคิดแก้ปัญหา (problem solving) คือ ลำดับขั้นตอนในการดำเนินการคิดเพื่อให้ได้แนวทางแก้ปัญหาและสามารถแก้ปัญหาได้สำเร็จ กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (critical thinking) คือ ลำดับขั้นตอนในการดำเนินการคิด เพื่อให้ได้คำตอบที่สมเหตุสมผล น่าเชื่อถือ และกระบวนการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creative thinking) คือ ลำดับขั้นตอนในการดำเนินการคิด เพื่อให้ได้สิ่งแปลกใหม่ที่ไม่เหมือนเดิม และใช้ประโยชน์ได้ดีกว่าเดิม
แนวคิดสำคัญ
นักคิด นักทฤษฎี และนักวิชาการ ในแต่ละยุคแต่ละสมัยต่างก็ได้พยายามคิดค้น แสวงหาคำอธิบายต่าง ๆ เพื่อช่วยทำให้เรื่องการคิดเกิดความกระจ่างขึ้น ข้อความรู้และคำอธิบายที่เหมาะสม นอกจากจะช่วยสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนแล้ว ยังช่วยให้แนวทางในการพัฒนาความสามารถในการคิดของบุคคลอีกด้วย
ทฤษฎีการเรียนรู้สำคัญที่ให้คำอธิบายเกี่ยวกับการคิด คือ ทฤษฎีการรู้คิด หรือทฤษฎี กลุ่มพุทธิปัญญา (cognitive theories) ทางจิตวิทยาใช้คำว่า “พุทธิปัญญา” แทนการรู้ – คิด ทุกชนิด เช่น การรับรู้ (perception) การคิดอย่างมีเหตุผล (reasoning) การจินตนาการ (imagining) การตัดสินใจ (Deciding) และการแก้ปัญหา (problem solving) ทฤษฎีทางพุทธิปัญญามี 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มที่สืบทอดแนวความคิดของพีอาเจต์ (Piagetian view) ซึ่งอธิบายถึงโครงสร้างทางปัญญา และกระบวนการทางปัญญา หรือกระบวนการคิดของสมองในการปรับเปลี่ยน ลด ตัด ทอน ขยาย จัดเก็บ และใช้ข้อมูลต่าง ๆ ที่รับเข้ามาทางประสาทสัมผัส ส่วน
กลุ่มที่สองเป็นกลุ่มที่ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (The Information Processing View) ซึ่งอธิบายการเรียนรู้ของมนุษย์ และการทำงานของสมองโดยเปรียบเทียบกับการทำงานของคอมพิวเตอร์นักทฤษฎีที่ให้คำอธิบายเกี่ยวกับการคิด และได้รับความนิยมและการอ้างอิงอย่างกว้างขวางมีจำนวนมาก ในที่นี้จะนำเสนอแนวคิดของนักทฤษฎีจำนวน 3 แนวคิด เนื่องจากแนวคิดดังกล่าวเป็นแนวคิดที่มีผู้สนใจในการนำไปใช้มาก
แนวคิดเกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์
1.แนวคิดพื้นฐาน
โรเบิร์ต เจ. เสติร์นเบิร์ก (Robert J. Stermberg, 1985) อธิบายว่า ความฉลาดที่นำบุคคลไปสู่ความสำเร็จ (successful intelligence) ประกอบด้วยความฉลาด 3 ลักษณะ ได้แก่ ความฉลาดในการสร้างสรรค์ (Creative intelligence) ความฉลาดในการวิเคราะห์ (analytical intelligence) และความฉลาดในการปฏิบัติจริง (practical intelligence) การคิดวิเคราะห์ หมายถึง การจำแนกแยกแยะข้อมูล หรือส่วนประกอบของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง/ เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ออกเป็นส่วนย่อย ๆ และหาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบเหล่านั้น เพื่อให้รู้ข้อเท็จจริง รู้เหตุผลเบื้องหลังของสิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความเข้าใจในเรื่อง หรือสถานการณ์นั้น ส่งผลให้สามารถประเมิน ตัดสินใจ และแก้ปัญหาเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง การคิดวิเคราะห์อาศัยความสามารถในการรวบรวมและจำแนกข้อมูล การตีความข้อมูลและการใช้เหตุผล ทั้งแบบนิรนัย (deduction) และอุปนัย (Induction) ในขณะเดียวกัน การคิดวิเคราะห์ก็เป็นทักษะพื้นฐานของการคิดลักษณะอื่น ๆ ซึ่งมักจำเป็นต้องใช้การคิดวิเคราะห์เป็นส่วนหนึ่ง
2.กระบวนการคิดวิเคราะห์ โดยทั่วไป
การดำเนินการคิดวิเคราะห์ มีลำดับขั้นตอน ดังนี้ (ทิศนา แขมมณี และคณะ, 2549)
แนวคิดเกี่ยวกับการคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking)
1.แนวคิดพื้นฐาน
เอลลิส พี. ทอร์แรนซ์ (Ellis P. Torrance, 1964) ได้อธิบายว่า การคิดสร้างสรรค์ เป็นกระบวนการในการคิดริเริ่มสร้างสิ่งใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน เป็นความคิดต้นแบบ (original ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ดีกว่าเดิมองค์ประกอบสำคัญในการคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วย การคิดคล่อง (fluency) การคิดยืดหยุ่น (flexibility) การคิดริเริ่ม (originality) และการคิดละเอียด (Elaboration)
เอ็ดเวิร์ด เดอโบโน (Edward De Bono, 1982) ผู้พัฒนาแนวคิด “การคิดแนวกว้าง” หรือ “การคิดนอกกรอบ” (lateral thinking) ซึ่งหมายถึง การคิดที่ต้องปรับเปลี่ยนมุมมองการรับรู้ และมโนทัศน์ออกนอกกรอบความคิดเดิมเพื่อให้ได้ทางเลือกใหม่ ๆ ที่มีความแปลกใหม่ สร้างสรรค์ และมีความเป็นไปได้
โดยทั่วไป ความคิดสร้างสรรค์แบ่งเป็น 2 สายใหญ่ ๆ ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะ ซึ่งแสดงออกให้เห็นในผลงานศิลปะด้านต่าง ๆ เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม วรรณกรรม ดนตรี และนาฏกรรม และความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งก่อให้เกิดผลิตผลและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ เครื่องจักรกล รถยนต์ ยารักษาโรค และสิ่งของเครื่องใช้อีกจำนวนมาก ความคิดสร้างสรรค์จึงเป็นเรื่องที่ให้ประโยชน์มหาศาลต่อมวลมนุษยชาติ
2.กระบวนการคิดสร้างสรรค์
นักวิชาการคนสำคัญที่ให้คำอธิบายเกี่ยวกับวิธีการทำงานของสมองที่ก่อให้เกิดเป็นความคิดสร้างสรรค์ และได้รับความนิยมโดยทั่วไปก็คือ ไมเคิล เอ. วอลลาซ และ นาทาน โคแกน (Michael A. Wallach and Nathan kogan,1965) และเอลลิส พี. ทอร์แรนซ์ และโรเบิร์ต อี. ไมเออร์ส (Elis P. Torrance and Robert E. Myers, 1972) ขั้นตอนในการคิดสร้างสรรค์ตามแนวคิด ของนักวิชาการดังกล่าวแสดงไว้ในตารางที่ 1
ตารางที่ 1 : กระบวนการคิดสร้างสรรค์ตามแนวคิดของ Wallach and Kogan และ Torrance and Myers
กระบวนการคิดสร้างสรรค์ตามแนวคิดของ (Wallach and Kogan) | การคิดสร้างสรรค์ตามแนวคิดของทอร์แรนและไมเออร์ส (Torrance and Myers) |
1. การเตรียมตัว (preparation) การรวบรวมข้อมูล ทำความเข้าใจปัญหา | 1. การแสวงหาความจริง (fact-finding) การเกิดปัญหาและพยายามแสวงหาคำตอบ |
2. การครุ่นคิด (incubation) การคิดเชื่อมโยงข้อมูลเก่ากับใหม่ | 2. การทำความเข้าใจปัญหา (problem-finding) การวิเคราะห์ปัญหา และรวบรวมข้อมูล |
3. การเปิดประกายความคิด (Illumination/insight) การคิดออก หยั่งเห็นคำตอบ | 3. การแสวงหาแนวคิด (idea-finding) การพิจารณาข้อมูล ให้ได้ความคิดสำหรับการแก้ปัญหา หรือตั้งสมมติฐานในการแก้ปัญหา |
4. การพิสูจน์ทดสอบความคิด (verification) การตรวจสอบความคิดโดยพิจารณาทบทวนหรือทดลองซ้ำหลายครั้ง | 4. การค้นพบคำตอบ (solution-finding) การดำเนินการ เพื่อให้ได้คำตอบ |
5. การยอมรับผลการค้นพบ (acceptance-finding) การนำข้อค้นพบไปใช้ประโยชน์ |
จากข้อมูลในตารางที่ 1 แสดงให้เห็นว่ากระบวนการคิดสร้างสรรค์ช่วยให้บุคคลได้แนวคิดแนวทางในการแก้ปัญหา นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์แปลก ๆ ใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์
แนวคิดเกี่ยวกับการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical thinking)
1.แนวคิดพื้นฐาน
โรเบิร์ต เอช. เอนนิส (Robert H. Ennis,1985) กล่าวถึงการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ว่าเป็นการคิดอย่างไตร่ตรองมีเหตุผล เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจที่จะเชื่อหรือกระทำการใด ๆ โดยมีการพิจารณาความน่าเชื่อถือของข้อมูล การค้นหาข้อตกลงเบื้องต้น (Assumption) และการใช้เหตุผล ทั้งแบบนิรนัย (deduction) และอุปนัย (induction)
ริชาร์ด พอล (Richard Paul, 1996) กล่าวว่า การคิดอย่างมีวิจารณญาณมีความสัมพันธ์กับการแก้ปัญหา การดำเนินการคิดจะต้องมีการพิจารณาองค์ประกอบ 7 ประการ ได้แก่
1.จุดมุ่งหมายของการคิด
2.ประเด็นการคิด
3.ข้อมูลสารสนเทศที่ใช้ในการคิด
4.ข้อมูลเชิงประจักษ์
5.แนวคิดที่เกี่ยวข้อง
6.ข้อสันนิษฐาน และ
7.ผลที่ตามมา
จากการศึกษาค้นคว้าแนวคิดต่าง ๆ ทิศนา แขมมณี (ทิศนา แขมมณี และคณะ, 2544) ได้สังเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอนิยาม และกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณไว้ว่า การคิดอย่างมีวิจารณญาณเป็นการคิดที่เน้นการพิจารณาและประเมินข้อมูลหลักฐานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งปัจจัยรอบด้านอย่างรอบคอบ โดยใช้หลักเหตุผลและการไตร่ตรองคุณ-โทษและคุณค่าที่แท้จริงของเรื่องหรือสิ่งนั้น จนกระทั่งได้คำตอบที่เหมาะสมหรือดีที่สุด เพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจ ประเมินหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ
2.กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีลำดับขั้นตอนดังนี้ (ทิศนา แขมมณี และคณะ, 2544)
1.ตั้งเป้าหมายในการคิดและระบุประเด็นในการคิด
2.ประมวลข้อมูลทั้งทางด้านข้อเท็จจริง และความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่คิดทั้งทางกว้าง ลึกและไกล
3.วิเคราะห์ จำแนก แยกแยะ จัดหมวดหมู่และเลือกข้อมูลที่จะนำมาใช้
4.ประเมินข้อมูลที่จะใช้ในแง่ความถูกต้อง ความเพียงพอ และความน่าเชื่อถือ
5.ใช้หลักเหตุผลในการพิจารณาข้อมูล เพื่อแสวงหาทางเลือก/คำตอบ ที่สมเหตุสมผลตามข้อมูลที่มี
6.เลือกทางเลือกที่เหมาะสมโดยพิจารณาถึงผลที่จะตามมาและพิจารณาถึงคุณค่าหรือความหมายที่แท้จริงของสิ่งนั้น
7.ชั่งน้ำหนักผลได้-ผลเสีย คุณ-โทษ ในระยะสั้นและระยะยาว
8.ไตร่ตรอง ทบทวนกลับไปมาให้รอบคอบ
9.ประเมินทางเลือกและลงความเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่คิ
จะเห็นได้ว่าทักษะการคิดและกระบวนการคิดเป็นเรื่องที่ควรพัฒนาให้เกิดขึ้นในทุกคนเนื่องจากเป็นทักษะที่จำเป็นต้องใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันทุกคนจึงควรพัฒนาตนเองในเรื่องนี้ เพื่อจะได้สามารถส่งเสริมและพัฒนาตนเองให้มีชีวิตที่ดีกว่าที่เป็นอยู่และเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศ
“อย่ามีแต่หัวไว้คั่นหูและใส่หมวก ต้องมีสมองไว้คิดด้วย”
Synovial Fluid หรือน้ำเลี้ยงข้อเป็นหนึ่งในส่วนประกอบสำคัญของข้อต่อในร่างกาย หน้าที่สำคัญของน้ำไขข้อคือการหล่อลื่นข้อต่อให้เราสามารถขยับได้อย่างลื่นไหลไม่ติดขัด
ประชาชนต้องรวมกันเป็นหนึ่งเดียวและทำความเข้าใจการเมืองไทยอย่างถ่องแท้รู้ว่าประเทศปกครองในระบอบอะไร ระบบบริหารราชการแผ่นดินเป็นอย่างไร กระทรวงต่างๆ มีหน้าที่อะไรบ้าง
เมื่อมีการอยู่ร่วมกันของมนุษย์จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการปกครองเมื่อการปกครองก็ต้องมีการจัดระบอบการปกครองขึ้นมาเพื่อใช้ในการปกครองมนุษย์ด้วยกันซึ่งปัจจุบันมี 2 แบบหลัก (ไม่ข้อกล่าวถึงแบบแยกย่อยต่างๆ)
การทานอาหารทั้ง 6 ชนิดนี้ให้เพียงพอช่วยลดปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ใหญ่ได้ Cardiovascular Disease (CVD)
กินก่อนตายไม่เสียดายชาติเกิดเกาเนื้อที่ทำด้วยจอมยุทธเซี้ยเดี่ยวมือหนึ่งเกาเหลาเนื้อจ้าวยุทธจักรที่ยากจะหาผู้ต่อกรได้
สงครามคือหนึ่งในเรื่องที่โหดร้ายของมนุษย์ในการเข่นฆ่ากันเองและถือเป็นเรื่องล้าหลังและไร้อารยธรรมของความเป็นมนุษย์อย่างสิ้นเชิง